ไม้ด่าง

หลายคนคงสงสัยว่าต้นไม้ถึงใบด่างเกิดจากอะไร? ต้นไม้ใบด่าง บางต้นก็มีปัจจัยให้เกิดใบด่างตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกลายพันธุ์ เช่น มอนสเตอร่าด่าง ฟิโลเดนดรอนด่าง พลูด่าง ไทรด่าง หรือชบาด่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุ และวิธีการดูแลที่ต่างจากต้นไม้ทั่วไป มาค้นพบความลับของต้นไม้ใบด่างกันเลย

คนปลูกต้นไม้คงทราบกันดีว่า ไม้ด่างที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่นั้นเป็นไม้ยีนด้อย ไม่แข็งแรง ดูแลยาก ขยายพันธุ์ยาก และมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับไม้ปกติ ด้วยเหตุนี้ ไม้ด่างจึงเป็นที่นิยมของคนเล่นต้นไม้มาเนิ่นนาน และด้วยความที่มีจำนวนน้อย แต่ความต้องการสูง ราคาจึงแพง และยิ่งกลายเป็นกระแส มีความต้องการจำนวนมหาศาลมาจากทั่วทุกสารทิศ โดยเฉพาะการซื้อขายออนไลน์ ราคาก็เลยพุ่งพรวดพราด จนคนแซวกันว่า ต้นไม้อะไรก็ตาม พอใบด่างก็แพงไปหมด ซึ่งก็ไม่จริงเสมอไป 

Livegoalthai อยากจะมาแนะนำต้นไม้ด่างอีกประเภท รวมถึงไม้ใบลาย ที่ดูคล้ายไม้ด่าง ต้นไม้เหล่านี้เป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรง เลี้ยงง่าย มีหลายประเภท และที่สำคัญก็คือ มีราคาแค่หลักสิบถึงหลักร้อยบาทเท่านั้น! ถ้าเลือกและเลี้ยงให้ดี ก็ดูดีมีเสน่ห์ไม่แพ้ต้นไม้ด่างราคาแพงๆ เลย

สาคูด่าง

สาคูด่าง

คล้าด่างและข่าด่าง เราอยากแนะนำต้นไม้ที่คล้ายๆ กัน แต่มีความด่างที่สวยเตะตาอีกแบบ ก็คือ สาคูด่าง เป็นไม้ล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดินเหมือน ขิง ข่า และ Bird of Paradise เลี้ยงง่าย จะใส่กระถางหรือปลูกคลุมดินก็ได้

มอนสเตอร่าด่าง

มอนสเตอร่าด่าง

มอนสเตอร่า (Monstera) ต้นไม้ที่ถูกเรียกขานว่า ราชินีไม้ใบ เพราะลักษณะรูปทรงของใบขนาดใหญ่ มันวาว มีรอยแฉกฉลุบนใบที่สวยงาม สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ มอนสเตอร่า เดลิซิโอซ่า (Monstera Deliciosa) หรือที่รู้จักในชื่อไทยว่า พลูฉีกหรือพลูแฉก สามารถปลูกได้ง่ายในลัษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ลักษณะ “ใบด่าง” มีทั้งด่างเหลืองและด่างขาว มีทั้งใบจุดด่างๆ สีขาวกระจายคล้ายหินอ่อน ด่างสีงาขาวครึ่งใบและ ด่างลงก้าน ทำให้แต่ละต้นมีเอกลักษณ์ของตัวเองไม่เหมือนกัน ยิ่งลายด่างแปลกก็ยิ่งมีราคาสูง

ยางอินเดียด่าง

ยางอินเดียด่าง

ต้นยางอินเดียจะมีใบสีเขียวเข้มเกือบดำ แต่ยางอินเดียด่าง ใบจะออกสีเขียวที่สว่างขึ้น ด่างแบบแรกจะมีขอบใบสีครีมปนเหลือง ตัวใบมีริ้วสีเขียวอ่อนอยู่บนสีเขียวเข้ม เหมือนลายทหาร ส่วนด่างแบบที่สองนั้น ใบมีสีเขียวเข้มเกือบดำ ขอบใบมีสีครีมปนชมพูอ่อน เช่นเดียวกับหลังใบที่เป็นสีชมพูอ่อนแทนที่จะเป็นสีเขียวซีด อีกหนึ่งจุดเด่น คือ เส้นกลางใบจะเป็นสีชมพูปนแดง ดูสวยทีเดียว ยางอินเดียด่างไม่ชอบแสงแดดจัด เพราะจะทำให้ใบบิดงอและไหม้ได้ รดน้ำสัปดาห์ละสองครั้ง

ถุงเงินถุงทอง

ถุงเงินถุงทอง

ถือเป็นพันธุ์ไม้ด่างคลาสสิกรุ่นคุณพ่อที่ตอนนี้กลับมาฮิตอีกครั้ง ถุงเงินถุงทองมีหัวอยู่ใต้ดิน มีความพิเศษแรกคือ รูปทรงใบซึ่งปลายใบเป็นเหมือนถุง และความพิเศษที่สอง ในต้นเดียวกันจะมีทั้งใบด่างขาวและด่างเหลือง จึงเป็นที่มาของชื่อ ถุงเงินถุงทอง ถ้าใครเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อต้นไม้ด่างขาวหรือด่างเหลืองดี เลือกต้นนี้ได้ทั้งคู่เลย

กล้วยด่าง

กล้วยด่าง

กลายเป็นต้นไม้ฮิตอีกต้นเพราะสาวญาญ่า ถ้าเรียกให้หรูหน่อย ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Banana Musa ‘Ae Ae’ แต่ภาษาไทยก็คือต้นกล้วยด่างนี่แหละ เพราะจริงๆ มูซา (Musa) เป็นไม้สกุลเดียวกับกล้วย แต่เมื่อเป็นสายพันธุ์ด่างใบจะเป็นแถบด่างเขียวอ่อนสลับขาวเป็นเส้นตามแนวเส้นใบอย่างกับลายทหาร Military บางคนเรียกว่ากล้วยด่างฟลอริด้า หากนำไปปลูกลงดินจะสูงใหญ่แบบต้นกล้วยและออกผลกล้วยด้วยนะ มีลักษณะและรสชาติคล้ายกล้วยไข่ แถมเปลือกกล้วยยังเป็นลายด่างอีกต่างหาก ว้าวมาก

บอนกระดาดด่างขาว หรือ บอนหูช้าง

บอนหูช้าง

บอนกระดาด (Alocasia macrorrhizos (L.) G.Don) เป็นไม้ล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน เจริญเป็นกอ ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ลำต้นสั้น ตั้งตรง ส่วนใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปหัวใจ กว้าง 25-60 เซนติเมตร ยาว 30-90 เซนติเมตร ปลายติ่งแหลม โคนเว้าลึก ขอบเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวเรียบเป็นมัน มีเส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบใหญ่ ยาว 1.2-1.5 เมตร จะมีรอยด่างปื้นสีขาวอมเทากระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดลวดลายที่พริ้วสวยงาม

ฟิโลเดนดรอน พิงค์ ปรินเซส

ฟิโลเดนดรอน พิงค์ ปรินเซส

ไม้สกุลฟิโลเดนดรอนเป็นพรรณไม้ธรรมดาสำหรับเลี้ยงที่บ้าน ราคาไม่แพง ดูแลง่าย ใบมีรูปทรงสวย แต่ต้นที่ญาญ่า – อุรัสยา เสปอร์บันด์ นำมาเลี้ยงจนเป็นผู้นำเทรนด์ (จนราคาพุ่งไปสูงลิ่ว) คือฟิโลเดนดรอน พิงค์ ปรินเซส ที่ใบสีเขียวจะมีสีชมพูแทรกเข้ามาครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เป็นไม้ที่ปลูกไว้ในบ้านได้ มีอากาศถ่ายเท แสงส่องรำไร รดน้ำปานกลาง แต่อย่างที่น้องญาญ่าบอกว่าหากเลี้ยงไว้ในที่โดนแสงสีชมพูสดบนใบก็จะซีดขาว จริงๆ ฟิโลเดนดรอนมีพันธุ์ด่างอีกเยอะมาก อาทิ ฟิโลเดนดรอนมะละกอด่าง ฟิโลเดนดรอน ไวท์ไนท์ ฟิโลเดนดรอนก้ามกุ้งด่าง เป็นต้น

เทคนิคการทำไม้ด่าง

ไม้ใบด่าง livegoalthai

หลายท่านคงอยากทราบว่าทำไมต้นไม้ถึงใบด่าง? ต้นไม้ใบด่าง บางต้นก็มีปัจจัยให้เกิดใบด่างตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการกลายพันธุ์นั้นเอง เช่น มอนสเตอร่าด่าง ฟิโลเดนดรอนด่าง พลูด่าง ไทรด่าง หรือชบาด่าง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุ และวิธีการดูแลที่ต่างจากต้นไม้ทั่วไป มาค้นพบเทคนนิคการทำไม้ใบด่างกัน

สาเหตุทำให้ต้นไม้ใบด่าง

โดยปกติการเกิดไม้ด่างจะเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติ เช่น การขาดแสง ขาดสารอาหาร ความผิดปกติทางพันธุกรรม และโรค เป็นต้น Livegoalthai ได้รวบรวมข้อมูลแต่ละสาเหตุดังนี้

ไม้ใบด่าง
  1. ขาดแสงสว่าง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการผลิตคลอโรฟิลล์ที่ทำให้ต้นไม้มีใบสีเขียว สังเกตได้จากการนำต้นไม้ปกติไปวางในที่มืด ผ่านไปไม่กี่วันใบก็จะเป็นสีขาวซีดและอ่อนแอ ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับการเพาะถั่วงอกหรือกุยช่ายให้มีใบสีขาวหรือเขียวอ่อน โดยหากนำมาออกแดดก็จะให้ใบสีเขียวตามเดิม
  2. ขาดสารอาหาร สารบางตัวมีผลต่อการสร้างเม็ดสีของใบ โดยหากต้นไม้ขาดแมกนีเซียม ใบจะเป็นสีเหลืองแต่เส้นใยยังเขียวอยู่ ถ้าขาดกำมะถันหรือฟอสฟอรัส ต้นมีจะใบด่างเหลืองทั้งใบ ซึ่งอาการจะหายไปหากได้รับสารอาหารดังกล่าวในดินครบถ้วน
  3. เนื้อเยื่อใบมีอากาศมาก อาการดังกล่าวส่งผลให้เมื่อแสงแดดไปตกกระทบใบจะเกิดการหักเหของแสง ทำให้ใบเป็นสีเทาเงิน พบมากในป่าธรรมชาติ อาการดังกล่าวจะเป็นถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นต้นไม้ที่สามารถจำแนกเป็นพันธุ์อื่นได้ เช่น พลูลงยา แนบอุรา หรือคล้าบางชนิด
  4. ความผิดปกติทางพันธุกรรม เกิดจากปัจจัยภายนอกที่กระทบโครงสร้างทางพันธุกรรมของต้นไม้ เช่น สารเคมีหรือสารกำมันตภาพรังสี ทำให้ต้นไม้กลายพันธุ์จากลักษณะเดิม นอกจากนี้ยังใช้ในวงการตัดแต่งพันธุ์ต้นไม้เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานหรือมีคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่าสายพันธุ์เดิม แต่ไม่สามารถควบคุมลักษณะให้เป็นไปตามที่ต้องการได้ โดยต้นแม่พันธุ์นั้นจะมีความสำคัญในการควบคุมลักษณะด่างๆได้ดีกว่าต้นพ่อพันธ์ุดังรายละเอียดดังนี้
    • แม่กิ่งใบเขียว+พ่อกิ่งใบเผือก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีใบเขียว
    • แม่กิ่งใบเขียว +พ่อกิ่งใบด่าง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีใบเขียว
    • แม่กิ่งใบเผือก + พ่อกิ่งใบเขียว ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีใบเผือก
    • แม่กิ่งใบเผือก + พ่อกิ่งใบเผือก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีใบเผือก
    • แม่กิ่งใบเผือก + พ่อกิ่งใบด่าง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีใบเผือก
    • แม่กิ่งใบด่าง + พ่อกิ่งใบเขียว ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
    • แม่กิ่งใบด่าง + พ่อกิ่งใบเผือก ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
    • แม่กิ่งใบด่าง + พ่อกิ่งใบด่าง ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีทั้งใบเขียว เผือก ด่าง
      มีข้อสังเกตว่าในประเทศญี่ปุ่นพบไม้ใบด่างจำนวนมาก ทำให้บางคนสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะผลพวงของกัมมันตภาพรังสีของระเบิดปรมาณูในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
  5. เกิดจากโรค อาการของต้นไม้ในสวนมีการเจริญเติบโตผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นใบมีลายสีด่างหรือสีเขียวไม่สม่ำเสมอกัน เล็กหรือย่น ส่วนยอดหรือดอกหงิกงอผิดจากรูปทรงเดิมและไม่ติดผล ลำต้นแคระแกร็น มีกิ่งก้านสั้นกว่าปกติ อาจเป็นอาการของโรคใบด่างในต้นไม้ หรือ Mosaic Virus ซึ่งเกิดจากไวรัสเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและสารคลอโรฟิลล์จนส่วนต่างๆ ของต้นมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติมักพบมากในมะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ มันฝรั่ง หากตัดแต่งด้วยกรรไกรหรืออุปกรณ์เดียวกันก็สามารถแพร่ไปสู่ต้นอื่นได้

 

นอกจากนี้ยังมีไวรัส Mottled ที่ทำให้เกิดอาการด่างเป็นจุดๆ ยังมี Vascular ที่ทำให้ด่างเฉพาะเส้นใยอีกด้วย ในบางครั้งโรคดังกล่าวก็ไม่ร้ายแรงมาก เพียงแค่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตช้าเท่านั้น

โรคดังกล่าวไม่สามารถป้องกันหรือกำจัดด้วยสารเคมี วิธีแก้ไขให้ตัดเอาชิ้นส่วนหรือต้นไม้ที่มีอาการมากไปเผาและทำลาย เพื่อลดการระบาด หรือเลือกพันธุ์ต้นไม้ที่ต้านทานโรคไวรัส นอกจากนี้ควรกำจัดแมลงพาหะโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน โดยฉีดพ่นด้วยมาลาไทออนหรือเอส 85

การทำไม้ด่าง

การทำไม้ด่าง
  • เพาะเมล็ดได้มั้ย ตอบเลยว่าการซื้อเมล็ดมาปลูกเพื่อลุ้นให้ต้นไม้ด่าง เหมือนลุ้นหวยให้ถูกรางวัลที่ 1 คือซื้อเมล็ดได้ในราคาถูกแต่ก็มีโอกาสน้อยมากที่จะโตเป็นไม้ด่าง เช่น เมล็ดมอนสเตอร่าไจแอนท์ สำหรับคนที่ต้องการต้นไม้ด่างมากๆ ไม่แนะนำให้ซื้อเมล็ดมาลุ้น เพราะนอกจากเปอร์เซ็นการได้ไม้ด่างน้อยแล้ว ส่วนใหญ่จะพบการด่างในปริมาณน้อย
  • เพาะเนื้อเยื่อได้มั้ย การเพาะเนื้อเยื่อเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำจำนวนได้มาก และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว แต่มีข้อเสียคือต้นทุนสูง และใช้เวลานานในการเจริญเติบโต โดยเฉพาะไม้ด่างที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นไม้ปกติอยู่แล้ว ทั้งนี้ การขยายพันธุ์โดยการเพาะเนื้อเยื่อในไม้ด่างที่มีการด่างไม่เสถียรมีโอกาสที่จะได้ไม้ 3 ลักษณะคือ
    • ไม้ด่าง
    • ไม้เขียว
    • ไม้เผือก

หากเลือกแม่พันธุ์ที่ด่างมากเกินไปก็จะทำให้ได้ไม้เนื้อเยื่อที่มีความด่างมากเกินไปจนถึงเผือก ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ไม่แข็งแรง มีโอกาสตายสูง และขายไม่ได้ราคา หากเลือกแม่พันธุ์ที่มีความด่างน้อยก็จะได้ไม้เนื้อเยื่อที่มีความด่างน้อยไปจนถึงไม่ด่างเลย ซึ่งขายไม่ได้ราคาเช่นเดียวกัน

  • ปักชำได้มั้ย การปักชำเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และนิยมอย่างมาก เนื่องจากใช้เวลาไม่นานต้นไม้ก็เจริญเติบโตพร้อมขาย และได้ไม้ที่มีลักษณะด่างเหมือนต้นแม่ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถทำจำนวนได้มากเท่าการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเนื้อเยื่อ

เทคนิคการทำไม้ด่าง การทำต้นไม้ใบเขียวธรรมดาเป็นไม้ด่างเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงต้องใช้การขยายพันธุ์ วิธีการทำให้ต้นไม้ด่างที่ได้ผลดีที่สุด และนิยมมากที่สุดคือ การปักชำ รองลงมาคือการเพาะเนื้อเยื่อ และลำดับสุดท้ายคือการเพาะเมล็ด

การดูแลต้นไม้ใบด่าง

ใบเงินใบทอง
  • เรื่องแสง
    การเลี้ยงไม้ใบด่างต้องดูแลมากกว่าต้นไม้ธรรมดา แม้ว่าเรื่องโรคและแมลงจะไม่แตกต่างจากต้นไม้ธรรมดา แต่การเติบโตช้ากว่า เพราะใบมีคลอโรฟิลล์น้อย ต้องอย่าให้โดนแดดจัด ควรปลูกในที่ที่แสงน้อย โดยเฉพาะต้นไม้ด่างประเภทที่ชอบแสงแดดรำไรอย่าง มอนสเตอร่าหรือฟิโลเดนดรอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพรรณไม้ด้วย ถ้าเป็นต้นไม้ที่ปกติชอบแสงแดดจัด คงเลี้ยงในที่รำไรไม่ได้ เช่น ไทรด่าง มันสำปะหลังด่าง ชบาด่าง เป็นต้น จำเป็นต้องปลูกในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเต็มวัน หรืออย่างน้อยครึ่งวัน ต้นไม้ด่างทุกต้นขณะที่ยังเล็กอยู่จะอ่อนแอ จะนำไปปลูกกลางแดดไม่ได้เลย ควรให้ต้นแข็งแรงก่อน
  • การให้น้ำ
    ต้นใหม่ ต้นอ่อน ไม่ว่าจะเกิดจากเมล็ดหรือการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น นอกจากการใส่ใจเรื่องแสงแดดที่ไม่ควรมากไป ต้องดูแลไม่ให้น้ำมากเกินไปด้วย เพราะใบที่มีคลอโรฟิลล์น้อยกว่าปกติทำให้คายน้ำยาก ใบอาจฉ่ำน้ำหรือกลายเป็นรอยไหม้ได้
  • ดินปลูก
    ควรเน้นดินที่โปร่งระบายน้ำดี ถ้าจะให้ปุ๋ย ให้เลือกชนิดสลายตัวช้า เช่น ออโมโคทสูตร 6 เดือน หากใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโครเจนมากใบก็จะเขียวขึ้น โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ

ไม้ด่างชนิดอื่น

New Post