เพลี้ยแป้ง กำราบด้วยสูตรปลอดภัยไม่ต้องใช้สารเคมี

เจ้าของสวนร้อยทั้งร้อยต่างเฝ้าคอยดูพรรณไม้ที่สรรหามาปลูกให้ออกดอกออกผลสวยงามชวนให้ชื่นใจ แต่ไม่วายมีโรคและแมลง อย่าง เพลี้ยแป้ง เข้ามาเบียดเบียนให้ต้องปวดหัวปวดใจ เพลี้ยแป้ง หนึ่งในขาประจำที่ยกพลมาเป็นโขยงและยังชวนมิตรคู่ใจมาด้วย เจ้าแมลงตัวขาวๆฟูๆ แลดูอ่อนโยนแต่อันตรายน่าดู วิธีสังเกตว่าต้นไม่เป็นเพลี้ยแป้งหรือไม่ เพลี้ยแป้ง สังเกตได้ง่าย ด้วยเครื่องแต่งตัวที่ขาวราวหิมะ พวกมันดูจะมีนิสัยรักพวกพ้อง เพราะพากันมาเป็นกลุ่มราวกับทัวร์ลง แต่ก็ออกจะขี้เกียจสักหน่อย ชอบเกาะอยู่นิ่งๆตามส่วนต่างๆของต้นไม้ ตั้งแต่ใบ กิ่งก้าน ลำต้น ไปจนถึงดอก เจ้าพวกนี้เห็นต้นไม้เป็นขวดน้ำหวาน จึงพากันมาดูดกินจนต้นไม้ขาดอาหารและทำให้การเจริญเติบโตของต้นต้องหยุดชะงักลงไป เจ้าแมลงตัวน้อยสีขาวๆนี้มักระบาดหนักในช่วงที่อากาศร้อนและชื้น เราอาจเห็นเป็นราดำตามมา เพราะน้ำหวานที่เพลี้ยแป้งผลิตออกมามากจะกลายเป็นรา ซึ่งจะลุกลามจนทำให้ต้นไม้ตายได้ เจ้าของสวนอย่าได้นิ่งนอนใจปล่อยไว้เชียวครับ วิธีแก้ไขเบื้องต้นแบบง่ายๆ ก็คือ ถ้าพบเพลี้ยแป้งเป็นจำนวนน้อยเกาะอยู่ตามใบหรือส่วนที่ตัดทิ้งได้ให้ตัดทิ้งไปก่อน และต้องท่องให้ขึ้นใจว่า เพลี้ยแป้งมี “มดจอมขยัน” เป็นมิตรรักผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ ลองขยับกระถางหรือสำรวจดูรอบๆสวนจะต้องพบรังหรือทางเดินของมดที่แวะเวียนมากินน้ำหวานต่อจากเพลี้ยแป้ง บางทีเจ้ามดยังใจดีช่วยพาเพลี้ยแป้งเพื่อนรักไปเที่ยวทั่วสวนด้วย บางครั้งเราก็พบว่าในกระถางปลูกกลายเป็นที่ซ่อนรังมดอย่างดิบดี ดังนั้นการตัดตอนมดก็เป็นมาตรการที่ควรทำควบคู่กันไป เช่น ใช้เหยื่อกำจัดมดแบบที่ทำให้ตายยกรัง หรือถ้าไม่อยากใจร้ายจนเกินไป ก็หมั่นดูน้ำในจานรองไม้กระถางให้ดีอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามหากวันดีคืนดีครอบครัวเพลี้ยแป้งพากันมาเยือนอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ทั้งใบทั้งต้นกลายเป็นสีขาวพราวไปหมด คงต้องงัดเอาสารเคมีมาปราบบ้างละ เพื่อไม่ให้ต้นไม้เหี่ยวเฉาไปกว่านี้ เราอาจเริ่มจากมาตรการเบาๆด้วยการใช้สารเคมีอ่อนๆที่หาได้ใกล้มือดังนี้ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างจานชนิดไม่มีสารฟอกขาว ซึ่งมีฤทธิ์ลดแรงตึงผิว ทำให้ขี้ผึงที่เพลี้ยแป้งสร้างคลุมตัวเสียไป และหายใจไม่ได้ โดยใช้อัตราส่วนน้ำยาล้างจาน 3 […]
กัญชง Vs กัญชา ประวัติความเป็นมาและความต่างในความเหมือน

กัญชง นาทีนี้คงไม่มีพืชชนิดไหนฮอตฮิตเท่า “กัญชา” อีกแล้ว หลายคนสงสัยว่า กัญชามีดีอย่างไร ทั้งที่ในบ้านเราจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งครอบคลุมทุกส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ยอด ผล ยาง ลำต้น รวมถึงสารที่มีอยู่ในพืชด้วย ขณะที่บางประเทศได้ทำการศึกษาวิจัยและใช้สารสำคัญในกัญชาเพื่อรักษาโรคร้าย จึงทำให้หลายฝ่ายต้องการผลักดันให้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดทางให้เกิดการวิจัยค้นคว้ากัญชาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ กัญชง ปีนี้มีโอกาสไปชมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 16 เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับกัญชามาแบ่งปัน โดยเฉพาะข้อมูลจากกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กระทรวงสาธารณสุข ในหัวข้อ กัญชาคือสิ่งเสพติดอันตรายหรือยารักษาโรคร้ายกันแน่? กัญชา ภาพจากเพจ ปฏิวัติกัญชา กัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานหลายพันปี บ้างก็มองว่าเป็นสารเสพติดที่ก่อให้เกิดอาการมึนเมา บ้างก็เป็นของเล่นสนุกของเหล่าหนุ่มสาวและศิลปินที่ทำให้ผ่อนคลายเกิดแรงบันดาลใจ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสมุนไพรชั้นเยี่ยมที่ช่วยรักษาให้ใครหลายคนรอดพ้นจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง มีบันทึกว่า การใช้กัญชาครั้งแรกของโลกมีขึ้นเมื่อราว 4,700 ปีที่แล้ว โดยจักรพรรดิเสินหนงแห่งประเทศจีน ได้ใช้พืชชนิดนี้เป็นสมุนไพรรักษาโรคข้อต่ออักเสบ มาลาเรีย และโรคไข้รูมาติก ต่อมาเมื่อราว 2,500 ปีที่แล้ว เริ่มถูกสั่งห้ามในจีน เนื่องจากได้รับการสันนิษฐานว่าทำให้เด็ก ๆ และวัยรุ่นไม่เคารพผู้ใหญ่ ทำให้สติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ส่วนในประเทศไทย เราใช้กัญชาในการรักษาโรคมาตั้งแต่สมัยอยุธยาในยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช […]
สับปะรดสี ปลูกอย่างไรให้รอด ดูแลไม่ยาก!

สับปะรดสี หรือบรอมีเลียด (Bromeliad) เป็นพืชในวงศ์ Bromeliaceae มีให้เลือกมากมายหลายประเภท บางชนิดปลูกบนดินได้และทนทานกับแสงแดดจัด บ้างเหมาะกับการปลูกเป็นไม้กระถางประดับ หรือปล่อยให้เติบโตกับขอนไม้ ตลอดจนคาคบไม้และซอกหิน บางพวกในกลุ่มทิลแอนเซียหรือไม้อากาศปลูกเกาะกิ่งไม้ ตอไม้ ทำไม้แขวน ห้อยไว้กับขดลวดก็อยู่ได้ จุดเด่นของ สับปะรดสี ทั้งหลายอยู่ที่รูปทรงต้น สีสัน ลวดลายใบ ยามผลิดอกยังให้ความตื่นใจและแปลกตา ทั้งยังเลี้ยงง่ายและทนทาน จึงเป็นไม้ที่นิยมต่อเนื่องยาวนานจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เหมาะจะเป็นพรรณไม้ในสวนเมืองร้อน สวนธรรมชาติ สวนระเบียง สวนโมเดิร์น และสวนยุโรป ใครที่กำลังมองหาไม้ประดับมาตกแต่งบ้าน “บ้านและสวน” มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสับปะรดสีมาแนะนำ เผื่อจะอยากได้ไปปลูกที่บ้านบ้าง สภาพพื้นที่ปลูกสับปะรดสี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับปลูกสับปะรดสีคือชื้นแต่ไม่แฉะ ต้องการแสงมากแต่ต้องไม่ร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรปลูกในบริเวณที่ได้รับแดดครึ่งวันเช้าจะดีกว่าแดดบ่าย และสามารถปลูกไว้กลางแจ้งได้ แต่ในช่วงฤดูร้อน ควรพรางแสงให้ร่มขึ้น เช่น หากปลูกไว้ใต้ซาแรนสีดำพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ ให้ใช้มุ้งตาข่ายสีฟ้าขึงด้านล่างซาแรนเพิ่มเข้าไปเพื่อช่วยตัดแสงที่ลงมา ให้น้อยลง ช่วยป้องกันใบไหม้ได้ การให้น้ำสับปะรดสี หรือบรอมีเลียด (Bromeliad) หากใช้น้ำประปารดควรขังน้ำทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยออกหมดก่อน เนื่องจากคลอรีนจะมีผลต่อพืชคือ เมื่อรดน้ำแล้วน้ำขังบริเวณปลายใบ คลอรีนจะไปกัดใบทำให้ใบไหม้เป็นสีน้ำตาลได้ […]